ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลแม่กา
ข้อมูลทั่วไป
ตำบลแม่กาอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นตำบลหน้าด่านของจังหวัดพะเยา เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อกับเขตพื้นที่ของตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ตำบลแม่กามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 131.696 ตารางกิโลเมตร หรือ 82,310 ไร่ และเป็นเนื้อที่สำหรับที่อยู่อาศัย จำนวน 8,540 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตพื้นที่ของตำบลอื่นๆ ดังนี้ - ทิศเหนือ ติดต่อ กับเขตพื้นที่เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา - ทิศใต้ ติดต่อ กับเขตพื้นที่ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง - ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพื้นที่ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา - ทิศตะวันตก ติดต่อ เขตพื้นที่ตำบลแม่นาเรือและตำบลแม่ใส อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลแม่กา ตั้งอยู่เลขที่ 259 หมู่ที่ 4 บ้านโทกหวาก อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ที่ตั้งสำนักงานเทศบาล อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา ประมาณ 15 กิโลเมตร | ตราเทศบาล |
ประวัติความเป็นมาตำบลแม่กา
ตำบลแม่กามีลำห้วยแม่กา และน้ำแม่ต๋ำ ซึ่งไหลมาบรรจบกันที่หมู่บ้านแม่กาหลวง ห่างจากถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (ถนนพหลโยธิน) ประมาณ 500 เมตร ซึ่งก่อตั้งได้ประมาณ 60 ปีเศษ แต่เดิมแล้วพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารก ไม่มีผู้คนมาอาศัยอยู่ อุดมไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาพันธุ์ บริเวณนี้จึงเป็นทางผ่านของบรรดาพ่อค้าทางเกวียน ซึ่งจะทำการบรรทุกสินค้า จากจังหวัดพะเยาเพื่อไปขายยังจังหวัดลำปาง พ่อค้าเหล่านี้จะเห็นภูมิศาสตร์ที่จะสามารถตั้งรกราก ทำไร่ทำสวน แรก ๆ ก็ 4 – 5 ครอบครัว ต่อมาจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำการตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นซึ่งประชากรส่วนใหญ่มาจากจังหวัดลำปาง และอำเภองาว โดยหมู่บ้านที่ทำการจัดตั้งขึ้นก่อนคือ “บ้านแม่กาหลวง” เพราะหมู่บ้านนี้มีแม่น้ำไหลผ่านเดิมเรียกกันว่า “บ้านแม่กาน้ำล้อม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านแม่กาหลวง ต่อมาประชากรเกิดขึ้นหนาแน่น จึงตั้งขึ้นโดยมีหมู่บ้านหลาย ๆ หมู่เกิดขึ้นมาอีกมากมาย เช่น บ้านแม่กาโทกหวาก บ้านแม่กาห้วยเคียน บ้านแม่กาไร่ บ้านแม่กานาไร่เดียว บ้านแม่กาหัวทุ่ง บ้านแม่กาหม้อแกงทอง และบ้านแม่กาท่าข้าม และได้มีการรวบรวมบ้านแม่ต๋ำบุญโยงเข้าเป็นหมู่บ้านโดยตั้งชื่อเป็น “ตำบลแม่กา”
สาเหตุที่เรียกว่าบ้านแม่กา คือ ในสมัยก่อนเดิมมาแล้ว ชาวบ้านที่อพยพมาไม่มากนัก แต่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน คือ ได้มีพ่อค้าเกวียนเดินทางผ่านมาแวะพักผ่อนที่ใต้ต้นตะเคียนใหญ่ใกล้ลำห้วย ขณะกำลังทานอาหารกลางวัน พ่อค้าเอาหม้อแกงไปตักน้ำที่ลำห้วย พอตกกลางคืน ก็เกิดอาถรรพ์มีเสือมาคาบเอาพ่อค้าคนที่ไปตักน้ำที่ลำห้วยกิน และถ้าส่วนใหญ่ถ้าหมู่บ้านใด มีอีการ้องรอบ ๆ หมู่บ้านก็จะมีคนในหมู่บ้านตาย 1 คน เป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแม่กา” และด้วยอาถรรพ์ของลำห้วยจึงตั้งชื่อห้วยว่า “ห้วยแม่กา” ห้วยแม่กาจะมีน้ำไหลตลอดปีโดยไม่มีวันแห้งเลยตราบจนวันนี้
ประวัติความเป็นมาของการปกครองของตำบลแม่กา
แต่เดิมบ้านแม่กาเป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตการปกครองของตำบลจำป่าหวาย อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย
ได้แยกออกจากเขตการปกครองของตำบลจำป่าหวายเป็นตำบลแม่กา เมื่อปี พ.ศ. 2516 และได้ยกฐานะเป็นนิติบุคคลปกครองในรูปแบบสภาตำบล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539 และได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลแม่กา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551
ตำบลแม่กามีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ กล่าวคือ
เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของร้อยเอกแฮนด์ มาร์คอส เย็นเซ่น นายตำรวจไทยชาวเดนมาร์ค ซึ่งเสียชีวิต
ขณะที่คุมกำลังตำรวจปราบพวกกบฏเงี้ยวเมืองล้านนา เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2445 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนี้ยังค้นพบแหล่งโบราณคดีลักษณะเตาเผาโบราณ พระพุทธรูป ซากวัด เจดีย์ และสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีอายุกว่า 700 ปี
สภาพภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศตำบลแม่กา โดยทั่วไปพื้นที่ทางทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นเนินเขาและเชิงเขาเป็นป่าเขา
จึงเป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำหลายสายไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ไปทางทิศเหนือลงสู่กว๊านพะเยา พื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา ตำบลแม่กามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 131.696 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เกษตรประมาณ 24,637 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ตามเนินเขา อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก และเป็นป่าไม้สักและไม้เบญจพรรณ ประมาณ 51,253 ไร่ และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ประมาณ 8,450 ไร่
ตำบลแม่กาแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน มีจำนวนทั้งหมด 18 หมู่บ้านประชากรจัดตั้งบ้านเรือน
อยู่สองฟากถนนพหลโยธิน (ทางหลวงหมายเลข 1 ) จำนวน 13 หมู่บ้าน ตั้งอยู่ตามถนนส่วนแยกจากเขตถนนพหลโยธิน จำนวน 4 หมู่บ้าน และตั้งอยู่สองฟากถนนสายพะเยา – วังเหนือ 1 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน
ประมาณ 4,666 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 19,018 คน
ตำบลแม่กา แบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน มีจำนวนทั้งสิ้น 18 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านหม้อแกงทอง | หมู่ที่ 10 บ้านแม่กาท่าข้าม | |
หมู่ที่ 2 บ้านห้วยเคียน | หมู่ที่ 11 บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | |
หมู่ที่ 3 บ้านแม่กาหลวง | หมู่ที่ 12 บ้านแม่กาหัวทุ่ง | |
หมู่ที่ 4 บ้านโทกหวาก | หมู่ที่ 13 บ้านหนองแก้ว | |
หมู่ที่ 5 บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | หมู่ที่ 14 บ้านนาไร่เดียว | |
หมู่ที่ 6 บ้านแม่กาไร่ | หมู่ที่ 15 บ้านเกษตรสุข | |
หมู่ที่ 7 บ้านบัว | หมู่ที่ 16 บ้านแม่กาห้วยเคียน | |
หมู่ที่ 8 บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | หมู่ที่ 17 บ้านแม่กาโทกหวาก | |
หมู่ที่ 9 บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | หมู่ที่ 18 บ้านแม่ต๋ำน้อย | |
ตารางข้อมูลแสดงจำนวนประชากรตำบลแม่กา
หมู่ที่
| ชื่อหมู่บ้าน
| ชาย
| หญิง
| รวม
| ครัวเรือน
|
1 | บ้านหม้อแกงทอง | 380 | 379 | 759 | 424 |
2 | บ้านแม่กาห้วยเคียน | 1,703 | 2,793 | 4,496 | 937 |
3 | บ้านแม่กาหลวง | 352 | 357 | 709 | 255 |
4 | บ้านโทกหวาก | 370 | 422 | 792 | 435 |
5 | บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | 385 | 444 | 829 | 352 |
6 | บ้านแม่กาไร่ | 452 | 466 | 918 | 382 |
7 | บ้านบัว | 310 | 303 | 613 | 186 |
8 | บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | 248 | 285 | 533 | 300 |
9 | บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | 526 | 547 | 1,073 | 394 |
10 | บ้านแม่กาท่าข้าม | 263 | 267 | 530 | 200 |
11 | บ้านแม่ต๋ำบุญโยง | 270 | 269 | 539 | 210 |
12 | บ้านแม่กาหัวทุ่ง | 134 | 155 | 289 | 154 |
13 | บ้านหนองแก้ว | 281 | 284 | 565 | 193 |
14 | บ้านแม่กาไร่เดียว | 154 | 173 | 327 | 116 |
15 | บ้านเกษตรสุข | 199 | 187 | 386 | 254 |
16 | บ้านแม่กาห้วยเคียน | 457 | 527 | 984 | 1,095 |
17 | บ้านแม่กาโทกหวาก | 212 | 272 | 484 | 173 |
18 | บ้านแม่ต๋ำน้อย | 242 | 254 | 496 | 148 |
| รวมทั้งสิ้น | 6,940 | 8,385 | 15,325 | 6,209 |
ที่มาข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่กา ( ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม 2560 )
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม – เดือน พฤษภาคม
- ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน มิถุนายน – เดือน ตุลาคม
- ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – เดือน กุมภาพันธ์
แหล่งน้ำและปริมาณน้ำในรอบปี
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ
มีลำห้วยมาจากน้ำธรรมชาติที่สำคัญไหลผ่านตำบลแม่กาลงสู่กว๊านพะเยาหลายสาย ซึ่งมีต้นกำเนิด จากเทือกเขาทางทิศใต้และทิศตะวันตก เช่น ลำน้ำแม่ต๋ำ ลำน้ำห้วยเคียน ลำน้ำห้วยเกี๋ยง ลำน้ำห้วยแม่นาปอย
2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
2.1 ฝายทุ่งเจี๊ยบ
กั้นลำน้ำแม่ต๋ำที่บ้าน หมู่ที่ 2 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 2,765 ไร่
2.2 ฝายวังดินขาว
กั้นลำน้ำแม่ต๋ำที่บ้าน หมู่ที่ 6 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 6,060 ไร่
2.3 ฝายวังปุย
กั้นลำน้ำแม่ต๋ำที่บ้าน หมู่ที่ 8 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 7,900 ไร่
2.4 ทำนบดินสระน้ำ
กั้นลำน้ำบ้าน หมู่ที่ 14 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 50 ไร่
2.5 อ่างเก็บน้ำห้วยแม่นาปอย
กั้นลำน้ำห้วยแม่นาปอย หมู่ที่ 10 พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 2,426 ไร่
2.6 สระเก็บน้ำในไร่นา
ขนาดความจุ 1,260 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 182 แห่ง
สภาพเศรษฐกิจและสังคม
ตั้งแต่ดั้งเดิมประชากรในตำบลแม่กาส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การทำนาข้าว การทำไร่ข้าวโพด ฟักทอง ขิง การปลูกผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย บางส่วนก็ประกอบอาชีพด้านการค้าขายและรับจ้างเมื่อหมดฤดูทำนา เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ก็เป็นการเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานหรือเลี้ยงเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ ในปัจจุบันเนื่องจากมีสถาบันและองค์กรต่าง ๆ ของภาครัฐเข้ามาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายสถาบันหลายองค์กร จึงทำให้มีประชากรแฝงร่วมอยู่ในเขตพื้นที่มาก จากสภาพการทางสังคมในปัจจุบันทำให้สภาพสังคมของชุมชนตำบลแม่กาเปลี่ยนแปลงไป สามารถกำหนดได้เป็น 3 ลักษณะ
ชุมชนกึ่งเมือง
เป็นพื้นที่ของหมู่บ้านที่มีเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองพะเยา ประชากรในพื้นที่จะประกอบอาชีพค้าขาย
รับราชการ รับจ้าง มากกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว
ชุมชนกึ่งชนบท
เป็นพื้นที่ชุมชนใหญ่ เดิมจะมีอาชีพทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เมื่อมีสถาบันและองค์กรต่างๆ เข้ามาอยู่ร่วม ทำให้มีการประกอบอาชีพค้าขาย อาชีพประกอบการและการให้บริการ ตลอดจนเป็นลูกจ้างขององค์กรและสถาบันต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
ชุมชนเขตชนบทและชาวไทยภูเขา
เป็นพื้นที่ชุมชนที่ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเชิงเขา โดยเฉพาะบ้านแม่ต๋ำน้อย หมู่ที่ 18 ซึ่งเป็น
หมู่บ้านชาวไทยภูเขา โดยเฉพาะประชากรจะประกอบอาชีพการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน และหาของป่า
เป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง
สิ่งก่อสร้าง องค์กร สถาบัน สถานประกอบการ ตลอดจนบ้านเรือนของราษฎรตำบลแม่กา
กำหนดได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. สถานที่ราชการ
1.1 เทศบาลตำบลแม่กา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 4 บ้านโทกหวาก
1.2 มหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งอยู่ ในเขตหมู่ที่ 2 บ้านห้วยเคียน
1.3 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 2 บ้านห้วยเคียน
1.4 โรงเรียน ประกอบด้วย
| - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | 1 | แห่ง |
| - โรงเรียนระดับประถมศึกษา | 4 | แห่ง |
| - โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา | 4 | แห่ง |
| - โรงเรียนฝึกอาชีพสภาคริสตจักรสำหรับผู้ด้อยโอกาสและชาวเขา | 1 | แห่ง |
1.5 วัดในชุมชนตำบลแม่กา | 9 | แห่ง |
1.6 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | 2 | แห่ง |
1.7 ด่านตรวจแม่ต๋ำ/ป้อมตำรวจทางหลวง/ป้อมตำรวจชุมชน | 3 | แห่ง |
1.8 สถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์จังหวัดพะเยา | 1 | แห่ง |
1.9 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพะเยา | 1 | แห่ง |
1.10 ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณีจังหวัดพะเยา | 1 | แห่ง |
1.11 สถานีชลประทานอ่างเก็บน้ำภาคเหนือ | 1 | แห่ง |
1.12 สถานีวนวัฒนวิจัยแม่กา ของกรมป่าไม้ | 1 | แห่ง |
1.13 สถานีวิทยุกระจายเสียง | 2 | แห่ง |
2. สถานประกอบการเอกชน
1. ปั๊มน้ำมัน | 2 | แห่ง |
2. โรงโม่หิน | 2 | แห่ง |
3. แหล่งรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร | 34 | แห่ง |
4. ร้านอาหาร | 34 | แห่ง |
5. หอพัก | 301 | แห่ง |
| | |
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมขนส่งระหว่างตำบลใช้เส้นทางถนนเดินทางและการขนส่ง มีเส้นทางที่สำคัญ จำนวน
3 เส้นทาง คือ
1.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายนครสวรรค์ – เชียงราย (ถนนพหลโยธิน) ตั้งแต่หมู่ที่ 14 – หมู่ที่ 9 ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
2.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข สายพะเยา – วังเหนือ ตั้งแต่สามแยกวังเหนือบ้านเกษตรสุข หมู่ที่ 15 ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
3.ทางหลวงชนบทหมายเลข สายบ้านแม่กาโทกหวาก – ตำบลจำป่าหวาย ตั้งแต่สามแยกบ้าน โทกหวาก หมู่ที่ 4 – บ้านร่องเข็ม หมู่ที่ 6 ตำบลจำป่าหวาย ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ในส่วนของการให้บริการรถประจำทางมีรถยนต์รับจ้างประจำทางบริการตามถนนสายพะเยา – แม่กา (มหาวิทยาลัยนเรศวร) และรถเมล์โดยสารสายเชียงราย, ลำปาง, เชียงใหม่, แพร่, น่าน, กรุงเทพฯ ผ่านตำบลแม่กา
การไฟฟ้า
ตำบลแม่กามีไฟฟ้าใช้เกือบทุกครัวเรือนของแต่ละหมู่บ้าน มีเพียงบ้านแม่ต๋ำน้อย หมู่ที่ 18 ซึ่งเป็น
ชุมชนชาวไทยภูเขาที่ใช้เฉพาะไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ในส่วนของไฟฟ้าสาธารณะได้ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้า (ไฟกิ่ง) เพื่อให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกความปลอดภัยแก่ประชาชนที่ใช้เส้นทางใน
การสัญจรในเวลากลางคืน
การสื่อสารและโทรคมนาคม
- มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (เอกชน) | 1 | แห่ง |
- มีโทรศัพท์พื้นฐานและสาธารณะ | 16 | แห่ง |
- มีสถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ (บริการโทรศัพท์มือถือ) จำนวน | 18 | แห่ง |
- มีสถานีวิทยุ | 2 | แห่ง |
- มีระบบเสียงตามสายทุกหมู่บ้าน | 18 | หมู่บ้าน |
| | |
โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
การใช้ที่ดิน
เทศบาลตำบลแม่กา ได้รับคัดเลือกให้เป็นตำบลนำร่อง 1 ใน 81 ตำบลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการชุมชนร่วมสร้างในเขตปฏิรูปที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามนโยบายแผนแม่บทในเขตปฏิรูปที่ดินและแผนพัฒนาเป็นนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินร่วมขับเคลื่อนระหว่าง 3 หน่วยงาน
คือ เทศบาลตำบลแม่กา มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพะเยา เพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการเกษตร จึงได้ร่วมกันพัฒนาที่ดินเบื้องต้น 3 มิติ คือ
- การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรโดยปลูกพืชแบบครบวงจรและขยายสัตว์พันธุ์ดี
- การใช้ที่ดินเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว ออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อมใจ และส่งเสริสภาพแวดล้อม
- การใช้ที่ดินเพื่อการขยายตัวของเมืองด้านที่อยู่อาศัย
การพัฒนาการเกษตรกรรม
เทศบาลตำบลแม่กากำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร ตามแนวทางของโครงการชุมชนร่วมสร้าง โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตร ดังนี้
1. พืช ส่งเสริมสนับสนุนให้ปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ การเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ พันธุ์ไม้
ผลต่างๆ และประสานกับบริษัท แอกโกร-ออน(ไทยแลนด์) จำกัด เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชแบบ
ครบวงจรเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออก
2. สัตว์ ประสานกับสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยาขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายพัฒนาพันธุ์
สัตว์ 1 อปท. 1 จังหวัด ของกองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
3. ประสานทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินโครงการประมงตำบลแม่กา
4. ดำเนินการกั้นลำห้วยด้วยฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเก็บน้ำใช้ในการส่งเสริมการปลูกพืชและ
เลี้ยงสัตว์อย่างเพียงพอ
การท่องเที่ยว กีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ
ตำบลแม่กามีภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้เกิดคุณค่าและเป็นการสร้าง
มูลค่าให้กับชุมชนตำบลแม่กาที่สามารถนำมาต่อยอด เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต ประกอบด้วย
ศักยภาพที่สามารถนำมาพัฒนาให้เกิดคุณค่า
1. มีแหล่งโบราณคดีเตาเผาเวียงบัว สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
2. มีอนุสาวรีย์ผู้เสียสละ ร้อยเอกแฮนด์ มาร์คอส เยนเซ่น สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
เชิงประวัติศาสตร์
3. มีอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
4. มีหมู่บ้านชุมชนชาวเผ่า สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า ลักษณะ
Long Stay และ Home Stay
5. มีพื้นที่ นสล. สามารถรองรับการจัดตั้งศูนย์ราชการ หน่วยงานบริการและอื่นๆ ในอนาคตได้
การปศุสัตว์
เทศบาลตำบลแม่กาได้ประสานกับสถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ร่วมกันดำเนินโครงการเครือข่ายพัฒนาพันธุ์สัตว์ 1 อปท. 1 จังหวัด ขยายสัตว์พันธุ์ดี เบื้องต้นจะส่งเสริมสัตว์พันธุ์ดี
5 ประเภท คือ ไก่ เป็ด สุกร โค กระบือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. สร้างรูปแบบระบบการพัฒนาพันธุ์สัตว์
2. สร้างเครือข่ายปรับปรุงพันธุ์สัตว์และกระจายพันธุ์สัตว์ โดยการเพิ่มบทบาทของเกษตรกร
ให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการปรับปรุงพันธุ์และการผลิตสัตว์พันธุ์ดี
3. พัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์คุณภาพดี ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นแบบวิสาหกิจชุมชนให้
เพียงพอกับการบริโภคภายในท้องถิ่น เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรรายย่อย
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม
การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
1.ด้านการศึกษา
เทศบาลตำบลแม่กา ได้ให้การดูแลสนับสนุนด้านดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 4 แห่ง และ
ได้สนับสนุนอาหารกลางวัน และอาหารเสริม(นม) ให้แก่ เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นประจำทุกปี เพื่อ
ให้เด็กเล็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แม่มีสุขภาพอามัยที่ดี
ได้จัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาตำบลแม่กาให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมทางการศึกษาโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลแม่กา ประกอบด้วย
- สวัสดิการสมาชิกกลุ่มการศึกษา
- การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
- การประชุมประจำเดือนคณะกรรมการศึกษา
- โครงการสร้ายรายได้ให้กับกลุ่มการศึกษา
- สนับสนุนกิจกรรมโดยการส่งเสริมด้านคุณธรรม ด้านวิชาการ ด้านจริยธรรม ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านกีฬา ดนตรีและนันทนาการ
เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่การพัฒนาการศึกษาตำบลแม่กาและส่งเสริมให้ยุวชน เยาวชน มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม ด้านจริยธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพและด้านดนตรี กีฬา และนันทนาการ ปละกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เพื่อพัฒนาให้เป็นคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม โดยมีความตระหนักในคุณค่าของการกีฬา ดนตรี และนันทนาการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. การศาสนา
ประชากรชุมชนตำบลแม่กาส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีสถาบันส่งเสริมด้านศาสนา คือมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตพะเยา มีวัดในชุมชนตำบลแม่กา จำนวน 9 วัด ได้แก่ วัดหม้อแกงทอง วัดห้วยเคียน วัดแม่กาหลวง วัดเวียงบัว วัดแม่กาไร่ วัดโทกหวาก วัดหนองแก้ว วัดเกษตรสุข และวัดแม่ต๋ำบุญโยง
วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ
1. ประเพณีประกาศสงกรานต์ แห่นักษัตร 12 ราศี วันที่ 10,11,12 เดือนเมษายนของทุกปี
2. ประเพณีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน
3. ประเพณีดำหัวผู้สูงอายุ (เทศกาลสงกรานต์) วันที่ 12 เดือนเมษายน
4. ประเพณีถวายเทียนพรรษา (เทศกาลเข้าพรรษา) เดือนกรกฎาคม
5. ประเพณีถวายเผ้ากฐิน (เทศกาลออกพรรษา) เดือนตุลาคม
6. ประเพณีลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน
7. งานบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง
8. งานลิ้นจีและของดีเมืองพะเยา
3. ด้านการสาธารณสุข
เทศบาลตำบลแม่กาได้จัดตั้งกลุ่มสาธารณสุขตำบลแม่กาทั้งระดับตำบลและระดับหมู่บ้าน เพื่อร่วมรณรงค์เผยแพร่การให้ความรู้แก่ประชาชนด้านสาธารณสุข การดูแลสุขภาพ การโภชนาการ การป้องกันและรักษาโรค การรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ
ได้จัดตั้งศูนย์กีฬา ดนตรี และนันทนาการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม โดยใช้กิจกรรมกีฬา ดนตรีและนันทนาการเป็นสื่อและสนับสนุนงบประมาณในการสร้างลานกีฬาให้ชุมชนเพื่อประกอบกิจกรรมของศูนย์กีฬา ดนตรี และนันทนาการ
4. ด้านสวัสดิการสังคม
เทศบาลตำบลแม่กาได้ให้การสนับสนุนจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาส และ
ผู้ป่วยเอดส์ สนับสนุนงบประมาณสมทบเป็นกองทุนสวัสดิการกลุ่มต่างๆ จำนวน 12 กลุ่ม ที่สมาชิกแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันออมในกองทุนสวัสดิการกลุ่ม มีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ สาธารณภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย และเน้นบทบาทของครอบครัว สถาบันชุมชน หน่วยงาน อปพร. ในการเฝ้าระวังดูแลความปลอดภัย รวมทั้งปัญหาจากยาเสพติด อบายมุข โรคเอดส์ และแก้ไขปัญหาด้านอื่นๆ ภายในชุมชน ร่วมกับตำรวจชุมชนตำบลแม่กา ด่านตรวจแม่ต๋ำ และตำรวจทางหลวง